วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หอเอนเมืองปิซา


  หอเอนเมืองปิซา        (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa,
  อังกฤษ:   Leaning Tower of Pisa)          ตั้งอยู่ที่เมืองปิซ่า ใน          จัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม  
  (Piazza Del Duomo)   หอระฆังของศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น
  สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต     (55.86 เมตร)น้ำหนักรวม      14,500 ตันโดยประมาณมี
  บันได 293ขั้น เอียง3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก3.9 เมตร
             
                        เริ่มสร้างเมื่อวันที่    9    สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้าง
   ประมาณ    175     ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไป   ได้ถึงชั้น 3  เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็น
   พื้นดินที่นิ่ม    ทำให้ยุบตัวต่อมาในปี ค.ศ.1272    โดย     Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับ
   ไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล    แต่การก่อสร้างในครั้งนี้     ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิด
   สงคราม    ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ    7   ชั้น ในปี ค.ศ.1319     แต่หอระฆัง
   ถูกสร้างเสร็จในปี   ค.ศ.1372  โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
             
                         หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรง
    ยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา
             
                         กาลิเลโอ กาลิเลอิ     เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องแรงโน้มถ่วง  ในตอนที่เขา
   เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซ่าโดยใช้ลูกบอล     2     ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา  เพื่อพิสูจน์ว่า
   ลูกบอล   2      ลูกจะ ตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้


โคลอสเซียม


โคลอสเซียม       (อังกฤษ: Colosseum    หรือ Flavian Amphitheatre; อิตาลี:
Colosseo - โคลอสโซ)         เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน       และสร้างเสร็จในสมัย
ของจักรพรรดิไททัส  ในคริสต์ศตวรรษที่ 1    หรือประมาณปี  ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูป
วงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ   527  เมตร สูง 57 เมตร สามารถ
จุผู้ชมได้ประมาณ  50,000 คน  มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามี
ลักษณะเป็นรูปวงรี  เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬาและมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อ
ไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก   ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก
  

1. เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)
     อดีตประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของประเทศแอฟริกาใต้ ผู้นำต่อต้านการเหยียดสีผิว โดยวันที่ 18 ของเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวแอฟริกาจะออกมาร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือทำความดี เพื่อเป็นเกียรติกับเนลสัน แมนเดลา ผู้ที่อุทิศตนเพื่อความสุขของชาวแอฟริกามาโดยตลอด ซึ่งเขาไม่เพียงแต่เป็นวีรบุรุษในใจของชาวแอฟริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลกอีกด้วย 

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก
         2. อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel)

          นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ผลิตและคิดค้นระเบิดไดนาไมท์ขึ้นมา ซึ่งแม้ผลงานของเขาจะนำชื่อเสียงและเงินทองมาสู่ชีวิตของเขาอย่างมากมาย แต่สิ่งที่เขาได้มานั้นต้องแลกกับชีวิตของผู้คนนับพัน และเหตุนี้เองที่ทำให้อัลเฟรด โนเบลตัดสินใจตั้งรางวัลโนเบลขึ้นมาในปี ค.ศ. 1895 เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลที่ทำผลงานสร้างสรรค์ให้กับโลก โดยแบ่งออกตามสาขาต่าง ๆ ดังนี้ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาการแพทย์ สาขาวรรณคดี และด้านสันติภาพ  


10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

3. เซอร์ ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Sir Tim Berners-Lee)
        นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการติดต่อสื่อสารและแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านโลกไซเบอร์ โดยระบบ Hyper Text Transfer Protocol หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า"HTTP" และเขานี่แหละที่เป็นผู้เปิดประตูให้คนทั่วโลกได้ทำความรู้จักกับโลกไซเบอร์มาจนถึงทุกวันนี้ 

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

 4. มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi)

          ผู้นำชาวอินเดียสู่อิสรภาพ หลังจากที่ประเทศอินเดียต้องอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษมานานถึง 70 ปี เขายังเป็นผู้นำอิสรภาพสู่ชาวอินเดียโดยการยกเลิกระบบชนชั้นวรรณะในประเทศอินเดีย และก็ยังเป็นผู้มอบอิสรภาพในการนับถือศาสนาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชื่อของมหาตมะ คานธีได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ และความสงบสุขของคนทั้งโลก

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

 5. มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)

          อดีตประะธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต และยังเป็นผู้นำคนสุดท้ายที่ปกครองด้วยระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เพราะหลังจากที่เขาทำการปฏิรูปการปกครองก็ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลง แต่วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่เขาได้ฝากไว้ก็คือ การรวมชาติเยอรมนีเข้าด้วยกัน และเป็นหนึ่งในผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งทำให้โลกกลับมาสงบสุขขึ้นอีกครั้ง และจากสองเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1990 

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

6. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)

          นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกด้วยการค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ และเขาก็ยังถูกยกย่องว่า เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์มากที่สุดในยุคปัจจุบันอีกด้วย และถึงแม้เขาจะเสียไปแล้ว แต่ทฤษฎีของเขาก็ยังคงเป็นที่จดจำ และเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจของนักฟิสิกส์ทั่วโลกต่อไป 

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

7. เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley)

          นักดนตรีและนักแสดงชาวอเมริกัน หรือที่เรารู้จักกันในฉายา "ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล" เพราะไม่ว่าจะเป็นการเต้นหรือการร้องเพลง เขาก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างลึกซึ้งกินใจ และยังเป็นสัญลักษณ์ของวงการดนตรีในยุคนั้นอีกด้วย 

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

8. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง (Martin Luther King)

          นักบุญชาวอเมริกา ผู้เดินตามรอยมหาตมะ คานธี เขาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เพื่อร่วมต่อต้านการเหยียดสีผิวในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในปี 1964 เขาได้รับรางวัลโนเบล ในสาขาสันติภาพ เพื่อเป็นรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับสิ่งที่เขาได้ทำเพื่อประชาชน และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของเขา ทางการสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งให้มีวัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

9. วิลเลียม เช็กสเปียร์ (William Shakespeare)

          นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ผู้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ผ่านงานเขียนได้สละสลวย อย่างไม่มีที่ติ โดยเขาสามารถเปลี่ยนโลกให้มองเห็นถึงความสวยงามของชีวิตได้ด้วยมหากาพย์ที่สะท้อนถึงตัวตนของมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยกิเลส ความรัก ความหลงใหล และการทรยศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นคติสอนใจมาจวบจนถึงปัจจุบัน และเขาก็ยังแสดงให้เห็นว่าศิลปะนั้นไม่ใช่แค่การวาดรูปเท่านั้น แต่ศิลปะยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นตัวอักษรได้อีกด้วย  

10 บุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลของโลก

10. โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell)

          อดีตแม่ทัพฝ่ายรัฐสภาที่ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 1 ในเหตุการณ์สงครามกลางเมืองของอังกฤษ และหลังจากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐ ถึงแม้เขาจะปกครองประเทศอังกฤษเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่แนวคิดของเขากลับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา 

ถั่วเหลือง



ถั่วเหลือง (อังกฤษSoybeanชื่อวิทยาศาสตร์Glycine max (L.) Merrill) เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น
ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่วๆไปหลายชื่อเช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอดัวร์ มาแน

      
     เอดัวร์ มาแน (ฝรั่งเศส: Édouard Manet, ฟังเสียง; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์


“อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัย
ใหม่

“เด็กเล่นขลุ่ย” (Young Flautist, or The Fifer) – ค.ศ. 1866, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส


 
“นักร้องชาวสเปน” (Spanish Singer) – ค.ศ. 1860, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา


 
“ภาพเหมือนสเตฟาน มาล์ลาร์เม” (Portrait of Stéphane Mallarmé) – ค.ศ. 1876, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส






วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Schengen Agreement

  
อนุสาวรีย์ข้อตกลงเชงเกน ที่เมืองเชงเกนประเทศลักเซมเบิร์ก


   ความตกลงเชงเกน (อังกฤษ: Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป


ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศรวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้ หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง  

ประเทศสมาชิกเชงเกน

ประเทศที่อนุญาตให้ประชาชนในกลุ่มเชงเกนสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง และประชาชนจากประเทศนอกกลุ่มเชงเกนเดินทางระหว่างประเทศเชงเกนได้โดยใช้ใบอนุญาตเพียงใบเดียว - ใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) ประเทศสมาชิกทั้งหมดหลังจากการเข้าร่วมเพิ่มในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย

ประเทศเบลเยียม    ประเทศฝรั่งเศส    ประเทศอิตาลี    ประเทศลักเซมเบิร์ก    ประเทศเนเธอร์แลนด์
ประเทศเดนมาร์ก    ประเทศกรีซ    ประเทศโปรตุเกส    ประเทศสเปน    ประเทศเยอรมนี    ประเทศออสเตรีย

ประเทศฟินแลนด์    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์    ประเทศสวีเดน    ประเทศนอร์เวย์    ประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศมอลตา    สาธารณรัฐเช็ก   ประเทศเอสโตเนีย    ประเทศฮังการี    ประเทศโปแลนด์    ประเทศสโลวาเกีย

ประเทศสโลวีเนีย    ประเทศลัตเวีย    ประเทศลิทัวเนีย    ประเทศโมนาโก

ประเทศไซปรัส เลื่อนการอนุญาตไปหนึ่งปี ประเทศบัลแกเรีย และ ประเทศโรมาเนีย ยังอยู่ในการพิจารณา      

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันบาสตีย์

   




     วันบาสตีย์ เป็นวันชาติของฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ในประเทศฝรั่งเศส วันดังกล่าวถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานเฉลิมฉลองแห่งชาติ" (La Fête Nationale) และเรียกโดยทั่วไปว่า "สิบสี่กรกฎา" (le quatorze juillet) วันดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงวันหยุดสมาพันรัฐ (Fête de la Fédération) ในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการโจมตีคุกบาสตีย์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 หนึ่งปีพอดี วันครบรอบการบุกโจมตีคุกปราการบาสตีย์ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ และการปรองดองชาวฝรั่งเศสด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สมัยก่อนสาธารณรัฐที่ 1 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส งานฉลองและพิธีการทางการถูกจัดขึ้นทั่วประเทศฝรั่งเศส การเดินสวนสนามประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปถูกจัดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม บนถนนช็องเซลีเซในปารีส ต่อหน้าประธานาธิบดีฝรั่งเศส ข้ารัฐการและแขกต่างประเทศ


เหตุการณ์และประเพณี

    การเดินสวนสนามเริ่มจากนักเรียนทหารจากโรงเรียนทหารหลายแห่ง จากนั้นจึงเป็นทหารราบ ทหารยานยนต์ อากาศยานจากปาทรุยเดอฟร็องส์บินอยู่บนท้องฟ้า ในปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะเชิญหน่วยทหารจากประเทศพันธมิตรของฝรั่งเศสร่วมเดินสวนสนามด้วย ในปี ค.ศ. 2004 อันเป็นปีครบรอบหนึ่งร้อยปีความตกลงฉันทไมตรี (Entente Cordiale) ทหารอังกฤษได้นำการเดินสวนสนามวันบาสตีย์เป็นครั้งแรก โดยมีเรดแอโรวส์บินอยู่เหนือศีรษะ[3] ในปี ค.ศ. 2007 กองพลน้อยพลร่มที่ 26 ของเยอรมนีนำหน้าการเดินสวนสนาม ตามด้วยนาวิกโยธินอังกฤษ


ในวันนี้ยังเป็นวันที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะให้สัมภาษณ์แก่สื่อ โดยอภิปรายสถานการณ์ของประเทศ เหตุการณ์ปัจจุบันและโครงการในอนาคต แต่นีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนที่ 23 ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์

รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส มาตรา 17 ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี ในการอภัยโทษแก่ผู้กระทำความผิด และตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจนี้ ในการอภัยโทษผู้กระทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่นผู้กระทำผิดกฎจราจร ในวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา อดีตประธานาธิบดีซาร์กอซี ประกาศให้ยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว
 
 
การเดินสวนสนาม
 
การเดินสวนสนามวันบาสตีย์นั้นเป็นการเดินสวนสนามฝรั่งเศสที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปารีสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1880 ในตอนเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม แต่ก่อนการเดินสวนสนามดังกล่าวจัดขึ้นที่อื่นในหรือใกล้กับกรุงปารีส แต่หลังจากปี ค.ศ. 1918 ได้ย้ายมาจัดที่ถนนช็องเซลีเซ ด้วยการเห็นพ้องอย่างชัดเจนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นตัวแทนในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย ยกเว้นช่วงที่เยอรมนียึดครองฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1940 ถึง 1944[4] ขบวนสวนสนามเคลื่อนลงมาตามถนนช็องเซลีเซ จากประตูชัยฝรั่งเศสไปถึงจัตุรัสกงกอร์ด ที่ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐบาลและเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศฝรั่งเศสยืนอยู่ การเดินสวนสนามวันบาสตีย์ได้รับความนิยมในฝรั่งเศส มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และเป็นการเดินสวนสนามเป็นปกติที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ในบางปียังได้มีการเชิญทหารต่างประเทศเข้าร่วมในขบวนสวนสนามและเชิญรัฐบุรุษต่างประเทศเข้าร่วมในฐานะแขก


นอกจากนี้ ยังมีการเดินขบวนสวนสนามขนาดเล็กกว่าตามเมืองที่มีกองทหารประจำอยู่ของฝรั่งเศส อันประกอบด้วยทหารในท้องถิ่นนั้น