วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำมะนาว รักษาสิวด้วยวิธีธรรมชาติ .





น้ำมะนาว รักษาสิวด้วยวิธีธรรมชาติ ... หาได้จากตู้เย็นในครัวที่บ้าน


ใช้น้ำมะนาวเพื่อบรรเทา / รักษาสิว เป็นวิธีธรรมชาติในการรักษาสิวที่ง่ายและปลอดภัย
สามารถใช้ได้ทั้งทาบนผิวและดื่ม ทั้งสองวิธีจะช่วยลดการเกิดสิวและรอยแผลเป็นทั้งภายนอกและภายใน
ได้มีทดลองใช้น้ำมะนาวทั้งสองวิธีแล้ว (ทาโดยตรงบนผิวหน้า และดื่ม) และพบว่าภายใน 3 สัปดาห์ สิวก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเชื่อว่าการผสมน้ำมะนาวกับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน จะช่วยให้ผลเร็วขึ้น

ทาน้ำมะนาวโดยตรงบนสิว
น้ำมะนาวมีกรดผลไม้ AHA หรือ Alpha Hydroxy Acids ทำงานโดยการลอกเอาเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ผิว และช่วยให้เซลล์ผิวใหม่ที่อยู่ด้านล่างได้ผลัดขึ้นมาแทนที่เซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว ยังช่วยชำระรูขุมขนและช่วยให้ผิวรู้สึกสดชื่น สดใสด้วย

สูตรน้ำมะนาว / วิธีใช้

1.ล้างหน้าให้สะอาด
2.บีบน้ำมะนาว 1 ช้อนชาในถ้วยเล็ก ใช้สำลีจุ่มน้ำมะนาวพอเปียก อาจผสมน้ำหากรู้สึกว่าแสบเกินไป
3.ป้ายน้ำมะนาวลงบนสิว สิวหัวขาว สิวหัวดำ สิวหัวหนอง
4.ทิ้งไว้ทั้งคืนโดยไม่ต้องล้างออก ล้างออกตอนเช้า และทาอีกครั้งก่อนเมคอัพ (หากคุณต้องใช้เมคอัพ)
5.หากรู้สึกว่าน้ำมะนาวนั้นแรงเกินไป แม้ว่าจะผสมน้ำให้เจือจางแล้วก็ตาม ให้ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น

วิธีการนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำจึงจะเห็นผล

ดื่มน้ำมะนาวเพื่อรักษาสิว

สามารถใช้วิธีการดื่มน้ำมะนาวเพื่อรักษาและทำความสะอาดภายในร่างกาย หรือขจัดสารพิษออกจากตับ และเพื่อให้การดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย น้ำมะนาวนั้นเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและผิวพรรณ ที่ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ดื่มง่าย และทำได้ง่าย

ความจริงแล้วการรักษาสิวด้วยการดื่มน้ำมะนาวนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง ที่ทุกคนควรดื่ม (สำหรับคนที่ไม่แพ้มะนาว) ประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านั้นคือ :

-ขจัดกรดต่าง ๆ ที่ตกค้างออกไป เพราะน้ำมะนาวมีแร่ธาตุต่าง ๆ (วิตามินซี, โพแทสเซียม)
-บรรเทาอาการท้องผูก
-ทำความสะอาดตับด้วยกรดซิตริก และสร้างเอนไซม์เพื่อขจัดสารพิษในเลือด
-ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร
-กำจัดนิ่วในไต และตับอ่อน

การรักษาสิวโดยการดื่มน้ำมะนาว สูตร 1

1.บีบน้ำมะนาว 1 ผลลงในแก้ว
2.เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย (ถ้วยละ 8 ออนซ์)
3.ดื่มน้ำมะนาวที่ผสมนี้ได้ทั้งวัน


การรักษาสิวโดยการดื่มน้ำมะนาว สูตร 2
1.บีบน้ำมะนาว 1 ผล ผสมกับน้ำอุ่นที่ต้มแล้ว 1 ถ้วย (8 ออนซ์)
2.ดื่มเป็นสิ่งแรกของวัน ในตอนเช้า
3.หลังจากดื่มน้ำมะนาว งดการดื่ม หรือรับประทานสิ่งใด ๆ ภายในครึ่งชั่วโมง เพื่อให้น้ำมะนาวได้ชำระล้างร่างกาย

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดอกมะลิ


ชื่อสามัญ                                Sambac 

ชื่อวิทยาศาสตร์                        Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.

ตระกูล                                    OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป
ุ์มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์

 พันธ์ดอกมะลิ

 มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย



 มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี



 มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.



 มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอกดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม

มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน

 มะลุลี มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์

มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก

มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ

พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งและข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว


 ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้มหนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
 เครือไส้ไก่ ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5  แฉก สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสด รูปทรงกลมหรือรี ผลสุกสีดำ
อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน


มะลิเขี้ยวงูเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด
ประโยชน์
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ
ดอก   มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก    เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลั
สรรพคุณ
เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง   : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา
ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น       : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด
ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ
มะลิซ้อน    ดอกสด          ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
               ดอกแห้ง         ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
               ใบสด             นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
               ต้น               ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต
               ราก               นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
มะลิวัลย์     ราก               ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้ 


วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Croissant



A croissant (French pronunciation: [kʁwasɑ̃] ( listen), anglicised variously as /krəˈsɑːnt/, /kwɑːˈsɑːn/, etc.) is a buttery flaky bread named for its distinctive crescent shape. It is also sometimes called a crescent[1] or crescent roll.[2] Croissants are made of a leavened variant of puff pastry. The yeast dough is layered with butter, rolled and folded several times in succession, then rolled into a sheet, a technique called laminating.

Crescent-shaped food breads have been made since the Middle Ages, and crescent-shaped cakes (imitating the often-worshiped Moon) possibly since classical times,[3] but the modern croissant dates to 19th-century Paris.

Croissants have long been a staple of French bakeries and patisseries. In the late 1970s, the development of factory-made, frozen, pre-formed but unbaked dough made them into a fast food which can be freshly baked by unskilled labor. Indeed, the croissanterie was explicitly a French response to American-style fast food,[4] and today 30-40% of the croissants sold in French bakeries and patisseries are frozen.[5]
This innovation, along with the croissant's versatility and distinctive shape, has made it the best-known type of French pastry in much of the world.