วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอดัวร์ มาแน

      
     เอดัวร์ มาแน (ฝรั่งเศส: Édouard Manet, ฟังเสียง; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์


“อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัย
ใหม่

“เด็กเล่นขลุ่ย” (Young Flautist, or The Fifer) – ค.ศ. 1866, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส


 
“นักร้องชาวสเปน” (Spanish Singer) – ค.ศ. 1860, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา


 
“ภาพเหมือนสเตฟาน มาล์ลาร์เม” (Portrait of Stéphane Mallarmé) – ค.ศ. 1876, พิพิธภัณฑ์ดอร์เซ, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส






วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Schengen Agreement

  
อนุสาวรีย์ข้อตกลงเชงเกน ที่เมืองเชงเกนประเทศลักเซมเบิร์ก


   ความตกลงเชงเกน (อังกฤษ: Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป


ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศรวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้ หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง  

ประเทศสมาชิกเชงเกน

ประเทศที่อนุญาตให้ประชาชนในกลุ่มเชงเกนสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง และประชาชนจากประเทศนอกกลุ่มเชงเกนเดินทางระหว่างประเทศเชงเกนได้โดยใช้ใบอนุญาตเพียงใบเดียว - ใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) ประเทศสมาชิกทั้งหมดหลังจากการเข้าร่วมเพิ่มในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย

ประเทศเบลเยียม    ประเทศฝรั่งเศส    ประเทศอิตาลี    ประเทศลักเซมเบิร์ก    ประเทศเนเธอร์แลนด์
ประเทศเดนมาร์ก    ประเทศกรีซ    ประเทศโปรตุเกส    ประเทศสเปน    ประเทศเยอรมนี    ประเทศออสเตรีย

ประเทศฟินแลนด์    ประเทศสวิตเซอร์แลนด์    ประเทศสวีเดน    ประเทศนอร์เวย์    ประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศมอลตา    สาธารณรัฐเช็ก   ประเทศเอสโตเนีย    ประเทศฮังการี    ประเทศโปแลนด์    ประเทศสโลวาเกีย

ประเทศสโลวีเนีย    ประเทศลัตเวีย    ประเทศลิทัวเนีย    ประเทศโมนาโก

ประเทศไซปรัส เลื่อนการอนุญาตไปหนึ่งปี ประเทศบัลแกเรีย และ ประเทศโรมาเนีย ยังอยู่ในการพิจารณา      

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันบาสตีย์

   




     วันบาสตีย์ เป็นวันชาติของฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ในประเทศฝรั่งเศส วันดังกล่าวถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานเฉลิมฉลองแห่งชาติ" (La Fête Nationale) และเรียกโดยทั่วไปว่า "สิบสี่กรกฎา" (le quatorze juillet) วันดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงวันหยุดสมาพันรัฐ (Fête de la Fédération) ในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการโจมตีคุกบาสตีย์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 หนึ่งปีพอดี วันครบรอบการบุกโจมตีคุกปราการบาสตีย์ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ และการปรองดองชาวฝรั่งเศสด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สมัยก่อนสาธารณรัฐที่ 1 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส งานฉลองและพิธีการทางการถูกจัดขึ้นทั่วประเทศฝรั่งเศส การเดินสวนสนามประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปถูกจัดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม บนถนนช็องเซลีเซในปารีส ต่อหน้าประธานาธิบดีฝรั่งเศส ข้ารัฐการและแขกต่างประเทศ


เหตุการณ์และประเพณี

    การเดินสวนสนามเริ่มจากนักเรียนทหารจากโรงเรียนทหารหลายแห่ง จากนั้นจึงเป็นทหารราบ ทหารยานยนต์ อากาศยานจากปาทรุยเดอฟร็องส์บินอยู่บนท้องฟ้า ในปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะเชิญหน่วยทหารจากประเทศพันธมิตรของฝรั่งเศสร่วมเดินสวนสนามด้วย ในปี ค.ศ. 2004 อันเป็นปีครบรอบหนึ่งร้อยปีความตกลงฉันทไมตรี (Entente Cordiale) ทหารอังกฤษได้นำการเดินสวนสนามวันบาสตีย์เป็นครั้งแรก โดยมีเรดแอโรวส์บินอยู่เหนือศีรษะ[3] ในปี ค.ศ. 2007 กองพลน้อยพลร่มที่ 26 ของเยอรมนีนำหน้าการเดินสวนสนาม ตามด้วยนาวิกโยธินอังกฤษ


ในวันนี้ยังเป็นวันที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะให้สัมภาษณ์แก่สื่อ โดยอภิปรายสถานการณ์ของประเทศ เหตุการณ์ปัจจุบันและโครงการในอนาคต แต่นีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนที่ 23 ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์

รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส มาตรา 17 ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี ในการอภัยโทษแก่ผู้กระทำความผิด และตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจนี้ ในการอภัยโทษผู้กระทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่นผู้กระทำผิดกฎจราจร ในวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา อดีตประธานาธิบดีซาร์กอซี ประกาศให้ยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว
 
 
การเดินสวนสนาม
 
การเดินสวนสนามวันบาสตีย์นั้นเป็นการเดินสวนสนามฝรั่งเศสที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปารีสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1880 ในตอนเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม แต่ก่อนการเดินสวนสนามดังกล่าวจัดขึ้นที่อื่นในหรือใกล้กับกรุงปารีส แต่หลังจากปี ค.ศ. 1918 ได้ย้ายมาจัดที่ถนนช็องเซลีเซ ด้วยการเห็นพ้องอย่างชัดเจนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นตัวแทนในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย ยกเว้นช่วงที่เยอรมนียึดครองฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1940 ถึง 1944[4] ขบวนสวนสนามเคลื่อนลงมาตามถนนช็องเซลีเซ จากประตูชัยฝรั่งเศสไปถึงจัตุรัสกงกอร์ด ที่ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐบาลและเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศฝรั่งเศสยืนอยู่ การเดินสวนสนามวันบาสตีย์ได้รับความนิยมในฝรั่งเศส มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และเป็นการเดินสวนสนามเป็นปกติที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ในบางปียังได้มีการเชิญทหารต่างประเทศเข้าร่วมในขบวนสวนสนามและเชิญรัฐบุรุษต่างประเทศเข้าร่วมในฐานะแขก


นอกจากนี้ ยังมีการเดินขบวนสวนสนามขนาดเล็กกว่าตามเมืองที่มีกองทหารประจำอยู่ของฝรั่งเศส อันประกอบด้วยทหารในท้องถิ่นนั้น

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตูร์เดอฟรองซ์



  Bicycle-icon.png ตูร์เดอฟรองซ์ (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งgศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)


ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ

จีโรดีตาเลีย (Giro d'Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน

วูเอลตาอาเอสปันญา (Vuelta a España) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน

การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส


ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส

การแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ


Jersey yellow.svgสีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด

Jersey green.svgสีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด (the leader of the points classification)

Jersey polkadot.svgสีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains

Jersey white.svgสีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 26 ปี

Jersey worldtour.svgสีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่

Jersey combined.svgเสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา

วันต่อต้านยาเสพติดโลก





     วันต่อต้านยาเสพติดโลก (อังกฤษ: International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี (จีน: 林則徐) ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ก่อนสงครามฝิ่น (จีน: 虎门销烟) ครั้งแรก


สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีมติที่ 41/111 เริ่มสอดส่องสังเกตสถานการณ์ยาเสพติดทั่วโลกเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)

รายงานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ยาเสพติดทั่วโลก  ประเมินมูลค่าการค้ายาในทางที่ผิดถึง 322 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ต่อปี

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันครู




     ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

     วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู


ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม "สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน

ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Leonardo da Vinci


   

   เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น
   ประวัติเลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด


ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง

   ภาพวาด
การประกาศของเทพ - หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1473)


พระแม่มารีแห่งภูผา (Virgin of the Rocks) - พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1483)

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) - Convent of Santa Maria delle Grazie (Refectory), Milan (ค.ศ. 1495-1498)

โมนาลิซ่า หรือ Mona Lisa พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1503-1507)

พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญแอนน์และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (Madonna and Child with St Anne and the Young St John) - หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน (ค.ศ. 1508)

ชุดภาพเหมือนล้อเลียน (ค.ศ. 1490-1505)

ยุทธการอันเกียริ (The Battle of Anghiari)- พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส วาดจากต้นฉบับของ รูเบ็นส์ และจิตรกรนิรนาม

   แกลเลอรี

 
 
นักบุญจอห์น/เทพบาคคัส(นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์)
(Saint John in the Wilderness Bacchus)
 
         ภาพเหมือนตัวเอง


          โมนาลิซ่า ภาพวาดที่อาจจะมีชื่อเสียงที่สุดในโลก

 
 
          La belle Ferronière (v. 1483-1490)





                     


Musée du Louvre





The Musée du Louvre (French pronunciation: [myze dy luvʁ])—in English, the Louvre Museum or simply the Louvre—is one of the world's largest museums, the most visited art museum in the world and a historic monument. A central landmark of Paris, France, it is located on the Right Bank of the Seine in the 1st arrondissement (district). Nearly 35,000 objects from prehistory to the 19th century are exhibited over an area of 60,600 square metres (652,300 square feet).



The museum is housed in the Louvre Palace (Palais du Louvre) which began as a fortress built in the late 12th century under Philip II. Remnants of the fortress are visible in the basement of the museum. The building was extended many times to form the present Louvre Palace. In 1682, Louis XIV chose the Palace of Versailles for his household, leaving the Louvre primarily as a place to display the royal collection, including, from 1692, a collection of antique sculpture.[5] In 1692, the building was occupied by the Académie des Inscriptions et Belles Lettres and the Académie Royale de Peinture et de Sculpture, which in 1699 held the first of a series of salons. The Académie remained at the Louvre for 100 years.[6] During the French Revolution, the National Assembly decreed that the Louvre should be used as a museum, to display the nation's masterpieces.


The museum opened on 10 August 1793 with an exhibition of 537 paintings, the majority of the works being royal and confiscated church property. Because of structural problems with the building, the museum was closed in 1796 until 1801. The size of the collection increased under Napoleon and the museum was renamed the Musée Napoléon. After the defeat of Napoleon at Waterloo, many works seized by his armies were returned to their original owners. The collection was further increased during the reigns of Louis XVIII and Charles X, and during the Second French Empire the museum gained 20,000 pieces. Holdings have grown steadily through donations and gifts since the Third Republic. As of 2008, the collection is divided among eight curatorial departments: Egyptian Antiquities; Near Eastern Antiquities; Greek, Etruscan, and Roman Antiquities; Islamic Art; Sculpture; Decorative Arts; Paintings; Prints and Drawings.

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันวิสาขบูชาโลก 2012

งานวันวิสาขบูชาโลก เกิดขึ้นเนื่องด้วยว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ สั่งสอนชาวโลกด้วยพระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงค้นพบ ตั้งแต่แรกจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประวัติที่งดงาม หมดจด ชัดเจนตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน และทรงเป็นบุคคลที่อัศจรรย์คือ ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือ วันวิสาขบูชา ด้วยเหตุนี้เอง องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวัน “วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ” หรือวันสำคัญสากลของโลก




คณะกรรมการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ ได้ประชุมพิจารณาหาเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมนานาชาติ ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม พ.ศ.2554 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ 2 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศศรีลังกาและประเทศไทย ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวิสาขบูชาโลก เนื่องจากในปี พ.ศ.2555 นอกจากจะเป็นการถวายพุทธบูชาฉลอง 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังเป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเป็นปีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา จึงเห็นสมควรให้จัดกิจกรรมการประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ทั้ง 2 พระองค์

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กระดูกสันหลังเสื่อม

กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม


ก่อนอื่นขออธิบายถึงลักษณะของข้อกระดูกสันหลังก่อนว่า กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางหลัง 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้องๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็กๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่นการก้ม การเงย ของคอ การก้มหลังและแอ่นหลัง เป็นต้น

ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น

สำหรับการรักษาส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิดๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้จะมีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กิช

   กิช (ฝรั่งเศส: quiche; สัท.: /kiʃ/) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่ากิชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่กิชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในกิชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้


ถึงแม้ว่ากิชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา

ครัวซ็อง


   ครัวซ็อง (ฝรั่งเศส: croissant, ออกเสียง: /kʀwa.sɑ̃/) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)


   การทำครัวซ็องจะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟเพสทรี) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้[1]

การทำครัวซ็องเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะและความอดทน ครั้งหนึ่งอาจจะใช้เวลาหลายวัน

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

วอลแตร์

                                                        

วอลแตร์ (ฝรั่งเศส: Voltaire; 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง

ประวัติ
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"


วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม

ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา

นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว

เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง

เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง

ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี

ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)

ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน

ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง

ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
 
ผลงานของวอลแตร์
 
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
 
อิทธิพลของวอลแตร์
 
ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น


วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332”

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

                                                         















ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ฝรั่งเศส: Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคแสงสว่าง

ปรัชญาของรูโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"


ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม
     รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประฌักร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การ์กอยล์ (Gargoyle)






การ์กอยล์ (Gargoyle)

การ์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris)

มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 อันแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่อันหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง

มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช เซนต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม)

ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศัก

ด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปไ

ด้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหาร

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พระราชวังแวร์ซาย

                                                 Versailles Palace.jpg




พระราชวังแวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย
ประวัติ

เดิมนั้น เมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วยกิโยติน ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้


                                               
              
ห้องกระจก(Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมนีบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายอันสวยงาม

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

เอดัวร์ มาแน

                                                            Édouard Manet.jpg






   เอดัวร์ มาแน (ฝรั่งเศส: Édouard Manet, ฟังเสียง; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์


“อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม่
 
     เกิดที่ปารีสเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1832 ในครอบครัวที่มีฐานะดี เออเฌนี-เดอซีเร-ฟูร์นีเย (Eugénie-Desirée Fournier) แม่ของเอดัวร์เป็นลูกสาวของนักการทูตและเป็นหลานสาวของมกุฏราชกุมารสวีเดนชาลส์ เบอร์นาด็อตต์ (Charles XIV John of Sweden) เอากุสท์พ่อของเอดัวร์เป็นผู้พิพากษาผู้มีความประสงค์จะให้ลูกชายมีอาชีพเดียวกัน ชาร์ลส์ โฟนิเยร์ผู้เป็นลุงเป็นผู้ยุยงให้เอดัวร์เขียนภาพและมักจะพาไปชมภาพเขียนในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปี ค.ศ. 1845 เอดัวร์ก็สมัครเข้าเรียนการวาดเส้นตามคำแนะนำของลุง ที่ที่พบอองโตนิน พรูสท์ผู้ต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิจิตรศิลป์และกลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันตลอดชีวิต


หลังจากการแนะนำของพ่อ ในปี ค.ศ. 1848 เอดัวร์ก็เดินทางไปกับเรือฝึกงานยังรีโอเดจาเนโร แต่หลังจากที่พยายามสอบเข้าราชนาวีไม่ได้สองครั้ง[1] พ่อของเอดัวร์จึงได้ยอมให้ลูกหันไปศึกษาทางศิลปะ ระหว่างปี ค.ศ. 1850 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็ศึกษากับทอมัส คูทัวร์ (Thomas Couture) จิตรกรผู้เชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ เมื่อมีเวลาว่างก็จะไปนั่งวาดรูปเลียนแบบภาพเขียนสำคัญๆ ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ระหว่างปี ค.ศ. 1853 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็เดินทางไปเที่ยวเยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ได้รับอิทธิพลการเขียนภาพของจิตรกรชาวดัตช์ ฟรันส์ ฮาลส์ (Frans Hals) และจิตรกรชาวสเปน เดียโก เบลัซเกซ (Diego Velázquez) และฟรันซิสโก โกยา

ในปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็เปิดห้องภาพของตนเอง ลักษณะการวาดภาพในช่วงเวลานี้เป็นฝีมือแปรงที่หยาบ ใช้รายละเอียดเพียงเล็กน้อย และยังไม่เริ่มใช้การแปลงโทนสี การวาดยังเป็นลักษณะแบบสัจจะนิยมที่ริเริ่มโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ (Gustave Courbet) เอดัวร์เขียนภาพ “คนดื่มเหล้า” (The Absinthe Drinker) ระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึงปี ค.ศ. 1859 และภาพเขียนที่เป็นหัวเรื่องร่วมสมัยเช่น ภาพขอทาน นักร้อง ยิปซี หรือคนในร้านกาแฟ หรือการสู้วัว หลังจากสมัยการเขียนภาพระยะแรกเอดัวร์ไม่ได้เขียนภาพที่เกี่ยวกับศาสนา ตำนานเทพ หรือภาพประวัติศาสตร์ ตัวอย่างภาพเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ก็ได้แก่ “พระเยซูถูกเย้ยหยัน” (Christ Mocked) ที่ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโกที่สหรัฐอเมริกา และ “พระเยซูและเทวดา” (Christ with Angels) ที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันที่นครนิวยอร์ก