วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

น้ำส้ม

                                                                     น้ำส้ม

ส่วนผสม


- ส้มเขียวหวาน 220 กรัม(3ผลขนาดกลาง )

- เกลือป่นผสมไอโอดีน 1 กรัม(1/5 ช้อนชา)

วิธีทำ

นำส้มมาล้างเปลือกให้สะอาด ใช้มีดผ่าขวางลูก คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือ ตักเอาเมล็ดออก ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ

คุณค่าทางอาหาร : มีวิตามินเอมากช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินซี ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

คุณค่าทางยา : ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เนลสัน มันเดลา

                                                          เนลสัน มันเดลา

เนลสัน โรลิฮฺลาฮฺลา มันเดลา (อังกฤษ: Nelson Rolihlahla Mandela; สำเนียงภาษาคโฮซา: [xoˈliɬaɬa manˈdeːla]) เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ที่เมืองทรานส์คีย์ ประเทศแอฟริกาใต้[1] ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2542 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งนี้นี้ เขาได้เป็นที่รู้จักกันทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ดินโดยใช้อาวุธ เช่น การก่อวินาศกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่น มากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประณามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย


เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็ก ๆ บนเกาะร็อบเบิน การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2533 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย ในขณะนี้ เนลสัน มันเดลา มีอายุกว่า 90 ปีแล้ว เป็นที่ยกย่องอย่างสูงภายในประเทศแอฟริกาใต้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ชาวแอฟริกันจะขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลมันเดลาอย่างให้เกียรติว่า มาดิบา แต่มักเจาะจงหมายถึงเนลสัน มันเดลาเท่านั้น

เนลสัน มันเดลา ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากกว่า 250 รางวัลตลอดช่วงเวลา 4 ทศวรรษ รางวัลที่สำคัญที่สุดคือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2536

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

พี่น้องตระกูลกริมม์

                                                   

พี่น้องตระกูลกริมม์ (อังกฤษ: The Brothers Grimm; เยอรมัน: Die Gebrüder Grimm) หรือ ยาค็อบ กริมม์ (ค.ศ. 1785-1863) และวิลเฮล์ม กริมม์ (ค.ศ. 1786-1859) นักวิชาการชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังจากผลงานการรวบรวมนิทานพื้นบ้านและเทพนิยาย รวมถึงผลงานเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา (กฎของกริมม์ หรือ Grimm's Law) นับว่าเป็นนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคู่หนึ่งในยุโรป ซึ่งทำให้เทพนิยายมากมายแพร่หลายไปทั่วโลก เช่น รัมเพลสทิลสกิน, สโนไวท์, ราพันเซล, ซินเดอเรลล่า และ แฮนเซลกับเกรเธล

ประวัติ

เจค็อบ ลุดวิจ กริมม์ และ วิลเฮล์ม คาร์ล กริมม์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1785 และ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1786 ตามลำดับ ที่เมืองฮาเนา ใกล้กับเมืองแฟรงค์เฟิร์ต แคว้นเฮสเซน พวกเขามีพี่น้องทั้งหมด 9 คน แต่มีชีวิตรอดเติบโตมาเพียง 6 คน[1] ชีวิตในวัยเด็กของพวกเขาอยู่ในแถบชนบทอันงดงามร่มรื่น ครอบครัวกริมม์พำนักอยู่ใกล้คฤหาสน์ของเจ้าผู้ครองแคว้นระหว่างช่วงปี 1790-1796 เนื่องจากบิดาของพวกเขาเป็นลูกจ้างของเจ้าชายแห่งเฮสเซน



เมื่อเจค็อบซึ่งเป็นบุตรคนโตอายุได้ 11 ปี บิดาของพวกเขาคือ ฟิลิป วิลเฮล์ม ก็ถึงแก่กรรม ครอบครัวจึงต้องย้ายไปอาศัยในบ้านเล็กๆ คับแคบในตัวเมือง[1] สองปีต่อมา ปู่ของพวกเขาก็เสียชีวิต จึงคงเหลือแต่แม่เพียงคนเดียวที่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพและเลี้ยงดูเด็กๆ ยังเป็นข้อโต้แย้งอยู่ว่านี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่พี่น้องกริมม์มักยกผู้เป็นบิดาไว้ไม่ให้มีความผิด ขณะที่ทรราชฝ่ายหญิงมักมีบทบาทสำคัญในนิทาน เช่นแม่เลี้ยงใจร้ายและพี่สาวทั้งสองในเรื่อง ซินเดอเรลล่า[2] แต่ผู้วิจารณ์คงจะลืมไปว่าพี่น้องกริมม์เป็นแต่เพียงผู้รวบรวมเทพนิยายเท่านั้น ไม่ใช่คนแต่งขึ้นมา


พี่น้องกริมม์ได้รับการศึกษาจาก Friedrichs-Gymnasium ใน Kassel และต่อมาได้เรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมาร์เบิร์ก และที่นี่ ด้วยแรงบันดาลใจจาก ฟรีดดริค ฟอน ซาวินี (Friedrich von Savigny) ทำให้พี่น้องทั้งสองเริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต ทั้งคู่เพิ่งมีอายุยี่สิบต้นๆ ในขณะที่เริ่มศึกษาด้านภาษาศาสตร์ และวางกฎของกริมม์ รวมถึงรวบรวมเรื่องราวเทพนิยายและเรื่องเล่านิทานพื้นบ้านจากที่ต่างๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงอย่างมาก อันที่จริงผลงานรวบรวมนิทานปรัมปราเหล่านี้เป็นผลพลอยได้จากการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของคนทั้งสอง


ปี ค.ศ. 1808 มีบันทึกว่าเจค็อบได้เป็นบรรณารักษ์ในราชสำนักของกษัตริย์แห่ง Westphalia ปี ค.ศ. 1812 พี่น้องกริมม์ได้ตีพิมพ์ผลงานรวบรวมเทพนิยายของพวกเขาเป็นครั้งแรก ชื่อว่า Tales of Children and the Home ซึ่งพวกเขารวบรวมเรื่องราวมาจากชาวบ้านชนบท เรื่องบางส่วนก็ขัดแย้งกับที่มาของเรื่องอื่นๆ ที่ตีพิมพ์ในวัฒนธรรมอื่นและภาษาอื่น (เช่นงานของ ชาร์ลส์ แปร์โรลต์) พี่น้องกริมม์แบ่งงานกันทำ เจค็อบเน้นที่งานวิจัย ส่วนวิลเฮล์มทำหน้าที่ปะติดปะต่อเรื่องราว นำมาประพันธ์ใหม่ในรูปแบบวรรณกรรมและเขียนบรรยายในลักษณะของนิทานเด็ก พี่น้องทั้งสองยังให้ความสนใจกับนิทานพื้นบ้านและประวัติศาสตร์กำเนิดของวรรณกรรม ปี ค.ศ. 1816 เจค็อบได้เป็นบรรณารักษ์ใน Kassel ส่วนวิลเฮล์มก็ได้งานที่นั่นเช่นกัน ระหว่าง ค.ศ. 1816 - 1818 ทั้งสองได้ตีพิมพ์ตำนานเยอรมันสองชุด และประวัติวรรณกรรมยุคต้นอีกหนึ่งชุด


ขณะที่พี่น้องกริมม์เริ่มสนใจในภาษาเก่าแก่และความสัมพันธ์ของภาษาเหล่านั้นกับภาษาเยอรมัน เจค็อบเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์และโครงสร้างของภาษาเยอรมันอย่างละเอียด ในเวลาต่อมา พวกเขาได้สรุปความสัมพันธ์ระหว่างคำต่างๆ และเรียกชื่อว่าเป็น กฎของกริมม์ โดยได้รวบรวมข้อมูลดิบไว้เป็นจำนวนมาก ปี ค.ศ. 1830 ทั้งสองได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งใน Göttingen หลังจากมีหน้าที่การงานมั่นคงในเมืองนั้น[3] เจค็อบได้เป็นศาสตราจารย์ และเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1830 ส่วนวิลเฮล์มได้เป็นศาสตราจารย์ในปี ค.ศ. 1835


ปี ค.ศ. 1837 พี่น้องกริมม์ร่วมกับศาสตราจารย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงานในมหาวิทยาลัย Göttingen อีก 5 คน ร่วมกันคัดค้านการเพิกถอนรัฐธรรมนูญแห่งรัฐฮันโนเวอร์ของกษัตริย์ เออร์เนสต์ ออกัสตัส ที่หนึ่ง กลุ่มผู้คัดค้านนี้เป็นที่รู้จักต่อมาในชื่อ Die Göttinger Sieben (The Göttingen Seven) ทั้งหมดถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย และมี 3 คนที่ถูกเนรเทศ รวมถึงเจค็อบด้วย เจค็อบหนีไปอาศัยอยู่ใน Kassel ซึ่งอยู่นอกอาณาเขตของกษัตริย์เออร์เนสต์ วิลเฮล์มติดตามไปสมทบภายหลัง โดยพำนักอยู่กับลุดวิจ น้องชายของพวกเขา ในปีต่อมาทั้งสองได้รับเชิญจากษัตริย์แห่งปรัสเซีย เชิญให้ไปพำนักอยู่ในเบอร์ลิน และทั้งสองก็ได้ย้ายไปยังเบอร์ลินนับแต่นั้น[4]


ช่วงปลายชีวิตของพวกเขาอุทิศให้กับการจัดทำพจนานุกรมภาษาเยอรมัน ตีพิมพ์ชุดแรกออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1854 และเป็นต้นแบบในการพัฒนาปรับปรุงเวอร์ชันต่างๆ ต่อมา เจค็อบครองตัวเป็นโสดตลอดชีวิตของเขา ส่วนวิลเฮล์มได้แต่งงานกับ เฮนเรียตเต โดโรเธีย ไวลด์ (Henriette Dorothea Wild หรือบางแห่งเรียกว่า Dortchen) เมื่อปี 1825 เธอเป็นบุตรีของเภสัชกรซึ่งเป็นเพื่อนกับครอบครัวกริมม์มาตั้งแต่เด็ก ที่ซึ่งพี่น้องกริมม์ได้ฟังนิทานเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เป็นครั้งแรก วิลเฮล์มมีบุตร 4 คนโดยเสียชีวิตตั้งแต่เด็กไป 1 คน แต่พี่น้องทั้งสองก็ยังสนิทกันมากแม้หลังจากที่วิลเฮล์มแต่งงานแล้วก็ตาม


วิลเฮล์มเสียชีวิตในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1859 เจค็อบยังคงทำงานรวบรวมพจนานุกรมและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตในเบอร์ลินเช่นกัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1863 ร่างของทั้งสองฝังไว้ที่สุสาน St. Matthäus Kirchhof ใน Schöneberg ในเบอร์ลิน พี่น้องตระกูลกริมม์ได้เผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แพร่หลายกว้างขวางในเยอรมนี และได้รับความเคารพยกย่องเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเยอรมนี ซึ่งต่อมาราชอาณาจักรปรัสเซียได้ก่อการปฏิวัติในช่วงปี 1848-1849 และเริ่มต้นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )

 สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน

กลุ่มหินประหลาด สโตนเฮนจ์ ( Stonehenge )



สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว


การก่อสร้างสโตนเฮนจจ์นั้นทำสืบเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี จากยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้นแต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,800-1,400 ปีก่อนคริสต์กาล ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงเงาของอีตาลอันรุ่นโรจน์ แนวหินกว่าครึ่งได้หักลงบ้าง หายไปบ้าง บางส่วนก็ทับถมกันอยู่ใต้ดิน การก่อสร้างเริ่มขึ้นในราว 2,8000 ปีก่อนคริสต์กาล (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ว่าเมื่อ 3,800 ปี) โดยเริ่มจากการขุดร่องวงกลมขนาดใหญ่ 56 หลุมเรียงเป็นวงกลมภายในวงดินนั้น หลุมเหล่านี้เรียกกันว่า หลุมออบรีย์ ตามชื่อจอห์น ออบรีย์ผู้ค้นพบในคริสต์ศตวรรษ 17 ปัจุบันหลุมดังกล่าวลาดทับด้วยปูบซีเมนต์ แต่หินแท่งแรกซึ่งเรียกกันว่าหินฮีล (Heel Stone) ที่ประจำอยู่ปากทางเข้าวงดินยังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม หลุมซึ่งขุดเรียงกันเป็นวงกลมอีกสองวงถัดเข้าไปเรียกกันว่าหลุม Y และหลุม Z

วงหลุมทั้งสองนี้คั่นอยู่ระหว่างวงหลุมออบรีย์ที่เป็นวงนอกและวงแท่งหินขนาดมหึมาตรงใจกลางวงดินสันนิษฐานว่าวงหลุม Y และ Z อาจมีความสำคัญในเชิงดาราศาสตร์ ในราว 2,100 ปีก่อนคริสต์กาล มีการนำหินสีน้ำเงิน (bluestone) 80 ก้อนจากแคว้นเวลส์มาเรียงเป็นวงกลมสองวงซ้อนกันแต่ต่อมามีการนำแท่งหินทรายขนาดใหญ่ 30 แท่ง ที่เรียว่าหินซาร์เซน(sarsen) มาเรียงเป็นวงกลมวงเดียวแทนที่วงหินสี่น้ำเงิน
สองวงวงเดิมภายในวงหินทรายมีหมู่ หินเรียงเป็นรูปกึ่ง ๆ รูปเกือกม้าอีกสองหมู่หมู่ที่อยู่ด้านนอกประกอบด้วยหินทรายก่อเป็นรูปไตรลิธอนห้ากลุ่ม(Trilithon คือกลุ่มหินที่ประกอบด้วยหินสามแท่ง สองแท่งตั้งขึ้นคู่กันและแท่งที่สามวางพาดเป็นคานในแนวนอน) ส่วนเกือกม้าด้านในประกอบด้วยหินสีน้ำเงินขัดแต่ง 19แท่งสถาปัตยกรรมนี้เป็นความสำเร็จอันน่าทึ่งเมื่อคิดดูว่าเครื่องมือขุดดินที่ผู้สร้างในยุคหินใหม่ใช้เป็นเพียงเสียมที่ทำจากเขากวางแดงเท่านั้น ชาวแซกซันเป็นผู้ขนาดนามวงหินเหล่านี้ว่า สโตนเฮนจ์ซึ่งเแปลตรงตัวว่า หินที่แขวนอยู่ (Hanging Stone) ส่วนบันทึกจากสมัยกลางตั้งชื่อวงหินนี้อย่างไพเราะว่า กลุ่มยักษ์เริงระบำ (The Giants Dance)


แม้ว่านักวิชาการส่วนใหญ่จะเห็นพ้องต้องกันว่าสโตนเฮนจ์เป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีไว้เพื่ออะไร มีการเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ นานา เช่น อินิโก โจนส์ สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชื่อว่าสโตนเฮนจ์เป็นซากปรักหักพังของวิหารโรมัน แต่คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19ยืนยันว่าเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ ความคิดนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ เราะสโตนเฮนจ์นั้นสร้างเสร็จอย่างน้อย 1,000 ปีก่อนลัทธิดังกล่าวจะเฟื่องฟู กระทั่งเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เองที่เราเริ่มได้ข้อเท็จจริงบ้าง นักโบราณคดี สามารถคำนวณหาอายุ และสรุปเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น

แต่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงก็ยังนับว่าน้อยอยู่มาก หินซาร์เซนที่เรียงเป็นวงด้านนอกแต่ละก้อนสูง 5 ม และหนักประมาณ26 ตัน หินเหล่านี้ชักลากมาจากทุ่งโล่งมาร์ลโบโร ดาวน์ส (Marlborough Downs)ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 32 กม. แล้วนำมาขัดแต่งและประดิษฐ์ให้มีสลักและเดือยอย่างดี ทำหใแท่งหินคู่ที่ตั้งและคานหินที่ใช้พาดเกาะเกี่ยวกันอย่างมั่นคง ส่วนหินสีน้ำเงินก้อนใหญ่ที่สุดซึ่งหนักถึงสี่ตันนำมาจากภูเขาพรีเซลีทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลส์นั้น สันนิษฐานว่าใช้แพลำเลียงล่องมาตามชายฝั่งเวลส์และแม่น้ำเอวอน แล้วชักลากต่อมาทางบก นักโบราณคดีส่วนใหญ่เชื่อว่า สโตนเฮนจ์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฝั่งศพ โดยพิจารณาจากหลักฐานว่านอกเหนือจากสโตนเฮนจ์แล้ว มีการสร้างสุสานมูนดินในหลุมออบรีย์หลายหลุม แต่ก็มีหลักฐานหักล้างว่าหลุมดังกล่าวขุดขึ้นนานก่อนที่จะมีการเผาศพในบริเวณนี้ บ้างก็สันนิษฐานว่าหลุมออบรีย์อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งใน พิธีไหว้ด้วยสุรา เช่น ชาวนาอาจเทเหล้าองุ่นลงในหลุมเพื่อบวงสรวงเทพเจ้าเปห่งธรรมชาติทั้งหลาย


วงหินสโตนเฮนจ์ก็อาจจะเป็นวิหารสำหรับทำพิธีบวงสรวงดังกล่าว ไม่นานมานี้ มีนักดาราศาสตร์คนหนึ่งได้อ้างว่าสามารถถอดรหัสแนวหินได้เขาเสนอว่าสโตนเฮนจจ์ คือ เครื่องคำนวญยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งใช้เป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะแนวของหินกลุ่มก้องต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแนวการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทฤษฏีทั้งหลายในปัจจจุบันจะมีตัวเลขและสถิติสนับเสนุนว่าเป็นจริง แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดใดไขปริศนาลึกลับแห่งออีตของสโตนเฮนจ์ได้อย่างสมบูรณ์