วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การ์กอยล์ (Gargoyle)






การ์กอยล์ (Gargoyle)

การ์กอยล์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตก มหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris)

มหาวิหารนอเตรอ-ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon) วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral) 2 อันแรกนี่เรียกยาก ผมสะกดผิดก็อย่าว่ากันนะคับ แต่อันหลังเนี่ยถูกต้องชัวร์ๆ นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์ เนี่ย เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไป แต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ มีช่องทางให้ระบายน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง

มากล่าวถึงชื่อที่เรียกว่า การ์กอยล์ กันบ้าง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ลา การ์กุยย์ (La Gargouille) ในภาษาฝรั่งเศส อันมีรากศัพท์มาจาก เกอร์กูลิโอ (Gurgulio) ในภาษาละติน หมายถึง คอ และ พ้องกับเสียงของน้ำที่ไหลผ่านรางน้ำฝนบนตัวอาคาร มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน (Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง (เป็นผมผมก็ไม่พอใจ จากหญิงสาวพรหมจรรย์เปลี่ยนไปเป็นนักโทษ คนละขั้วกันเลย) ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน จนกระทั่งวันหนึ่ง นักบวช เซนต์ รูมานีส์ (Saint Romanis) (ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวหรอกหรือ? แต่เป็นนักบวช) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่า หากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดี (โบสถ์หนึ่งหลังแลกกับไปฆ่ามังกร คุ้มคับคุ้ม)

ท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อ พระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้าน ชาวบ้าน รูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีก ชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็น แต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมัน ยกเว้น หัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้ ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญา นักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศัก

ด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปไ

ด้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหาร

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พระราชวังแวร์ซาย

                                                 Versailles Palace.jpg




พระราชวังแวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย
ประวัติ

เดิมนั้น เมืองแวร์ซายเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายน่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้น
เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง
การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายแห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วยกิโยติน ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายยังอยู่ในสภาพดีและเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้


                                               
              
ห้องกระจก(Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมนีบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายอันสวยงาม

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

เอดัวร์ มาแน

                                                            Édouard Manet.jpg






   เอดัวร์ มาแน (ฝรั่งเศส: Édouard Manet, ฟังเสียง; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์


“อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม่
 
     เกิดที่ปารีสเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1832 ในครอบครัวที่มีฐานะดี เออเฌนี-เดอซีเร-ฟูร์นีเย (Eugénie-Desirée Fournier) แม่ของเอดัวร์เป็นลูกสาวของนักการทูตและเป็นหลานสาวของมกุฏราชกุมารสวีเดนชาลส์ เบอร์นาด็อตต์ (Charles XIV John of Sweden) เอากุสท์พ่อของเอดัวร์เป็นผู้พิพากษาผู้มีความประสงค์จะให้ลูกชายมีอาชีพเดียวกัน ชาร์ลส์ โฟนิเยร์ผู้เป็นลุงเป็นผู้ยุยงให้เอดัวร์เขียนภาพและมักจะพาไปชมภาพเขียนในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปี ค.ศ. 1845 เอดัวร์ก็สมัครเข้าเรียนการวาดเส้นตามคำแนะนำของลุง ที่ที่พบอองโตนิน พรูสท์ผู้ต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิจิตรศิลป์และกลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันตลอดชีวิต


หลังจากการแนะนำของพ่อ ในปี ค.ศ. 1848 เอดัวร์ก็เดินทางไปกับเรือฝึกงานยังรีโอเดจาเนโร แต่หลังจากที่พยายามสอบเข้าราชนาวีไม่ได้สองครั้ง[1] พ่อของเอดัวร์จึงได้ยอมให้ลูกหันไปศึกษาทางศิลปะ ระหว่างปี ค.ศ. 1850 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็ศึกษากับทอมัส คูทัวร์ (Thomas Couture) จิตรกรผู้เชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ เมื่อมีเวลาว่างก็จะไปนั่งวาดรูปเลียนแบบภาพเขียนสำคัญๆ ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ระหว่างปี ค.ศ. 1853 ถึงปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็เดินทางไปเที่ยวเยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ได้รับอิทธิพลการเขียนภาพของจิตรกรชาวดัตช์ ฟรันส์ ฮาลส์ (Frans Hals) และจิตรกรชาวสเปน เดียโก เบลัซเกซ (Diego Velázquez) และฟรันซิสโก โกยา

ในปี ค.ศ. 1856 เอดัวร์ก็เปิดห้องภาพของตนเอง ลักษณะการวาดภาพในช่วงเวลานี้เป็นฝีมือแปรงที่หยาบ ใช้รายละเอียดเพียงเล็กน้อย และยังไม่เริ่มใช้การแปลงโทนสี การวาดยังเป็นลักษณะแบบสัจจะนิยมที่ริเริ่มโดยกุสตาฟว์ กูร์แบ (Gustave Courbet) เอดัวร์เขียนภาพ “คนดื่มเหล้า” (The Absinthe Drinker) ระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึงปี ค.ศ. 1859 และภาพเขียนที่เป็นหัวเรื่องร่วมสมัยเช่น ภาพขอทาน นักร้อง ยิปซี หรือคนในร้านกาแฟ หรือการสู้วัว หลังจากสมัยการเขียนภาพระยะแรกเอดัวร์ไม่ได้เขียนภาพที่เกี่ยวกับศาสนา ตำนานเทพ หรือภาพประวัติศาสตร์ ตัวอย่างภาพเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ก็ได้แก่ “พระเยซูถูกเย้ยหยัน” (Christ Mocked) ที่ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโกที่สหรัฐอเมริกา และ “พระเยซูและเทวดา” (Christ with Angels) ที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันที่นครนิวยอร์ก