วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

The Show [Lenka]

10 วิธีแก้ง่วง (ไม่เครียด จ้า)


1. วิธี standard method กินกาแฟ แต่ท่านที่ต้องการเห็นผลทันที

ควรเอากาแฟหยอดตาหายง่วงปลิดทิ้ง

2. apply มาหน่อย กินยาบ้า สนใจผลิตภัณฑ์นี้ติดต่อบังรอน มี Promotion ใหม่

ซื้อยาบ้า 1 เม็ดแถมมีดปลายแหลม 1 ด้าม เพื่อสะดวกแก่การฟุ้งซ่าน

ถ้าโชคดีมีสิทธิ์ขึ้นข่าวหน้า 1 เป็นคนดังชั่วข้ามคืน

3. อมเปลือกทุเรียนไว้ทั้งเปลือก ห้ามคายไม่งั้นเดี๋ยวง่วง ผู้ที่ไม่ชอบทุเรียน

อนุญาตให้อมครกแทนได้ แต่ไร้รสชาด

4. ง่วงแล้วหยิกตัวเองให้ตื่น ถ้าไม่หาย เปลี่ยนไปหยิกคนข้างๆ แล้วคนข้างๆ

จะประเคนลำแข้งให้หายง่วงได้

5. หาเรื่องเครียดเครียดใส่ตัว เช่น ใช้เงินทั้งเดือนให้หมดภายใน 1 วัน

ไปมีเรื่องกับจิ๊กโก๋ปากซอยเอาให้มันอาฆาตเล่น เป็นต้น จะทำให้ตาค้างตลอดคืน

6. อย่าอยู่เงียบๆ หรือฟังเพลงเบาๆ ต้องหาสถานที่หนวกหูตอนดีกดีก เช่น

ถนนหรือทางด่วนที่มันชอบซิ่งรถ บ้านที่ผัวเมียชอบทะเลาะกันดึกดึก

RCA ร้านไหนก็ได้ หอบงานไปทำบริเวณนั้นทำให้ไม่หลับ

วิธีนี้เหมาะกับ คนจิตแข็งมีสมาธิดีเท่านั้น

7. อย่าทำงาน หรืออ่านหนังสือบนเตียงนอน หลับแหงแหง

ให้ทำใต้เตียงแทน อึดอัดหน่อย ต้องทน

8. นอนกลางวัน สะสมก่อน ถ้าเจ้านายถามก็บอกว่าเก็บแรงไว้ทำงาน

ให้เจ้านายตอนกลางคืน เจ้านายจะซาบซึ้งมาก
9. ต้องทำตาให้ค้าง สมัยก่อนใช้ไม้หนีบ แต่สามารถใช้กาวตราช้าง

หรือไปกราบไหว้ผีบ้านผีเรือนให้มาปรากฎตัว แทนได้ จะทำให้ตาค้างได้ดีมากเหมือนกัน

10.อย่าขยันทำการบ้านนะ จะเพลียแย่ ทำให้ง่วงได้
วิธีทำเทียนเบื้องต้น


วิธีทำ

ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน ( ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มจนหลอมละลายเข้ากัน ผสมสี (ให้ แผ่นสีเทียน หรือสีมัตสุตะ) ผสมให้เข้ากันดี ยกหม้อลงจากเตา ใส่หัวน้ำ หอม กลิ่นที่ชอบ ทิ้งให้ส่วนผสมเย็นลงเล็กน้อย (สังเกตุดูเทียนจะเริ่มขุ่น)

ใส่ไส้เทียน ในพิมพ์ให้ยาวพ้นพิมพ์ประมาณ 4 - 5 ซ.ม. เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ ประมาณ 92 องศา) ลงในพิมพ์ ทิ้งให้เย็น จึงค่อยแกะออกจากพิมพ์

ข้อควรระวังขณะทำเทียน

1. ใช้หม้อ 2 ชั้นในการต้มเทียน ซึ่งจะเป็นวิธีที่ดี และปลอดภัย

2. อย่าต้มเทียนในอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 100 องศา เพราะน้ำเทียนจะติดไฟ ได้ง่าย

3. ถ้าเทียนที่กำลังต้มอยู่ติดไฟ ให้ปิดแก๊ส หรือดึงปลั๊กไฟออกทันทีอย่าเคลื่อน ย้ายหม้อต้ม หรือใช้น้ำดับไฟ (ถ้าต้องการดับไฟให้ปิดฝาหม้อหรือใช้ ผ้าชื้นๆ ปกคลุมฝาหม้อไว้)

4. ถ้าเทียนหกบนพื้นหรือโต๊ะ ต้องคอยจนกว่าเทียนเย็น หรือแข็งตัวแล้วขูดออก

5. อย่าเทเทียนเหลวลงในท่อน้ำ เพราะจะทำให้ท่อน้ำอุดตัน

ส่วนผสมเพิ่มเติม

สเตียริน (Stearin) คือ แว๊กซ์แข็งสีขาวใช้เป็นส่วนผสมของพาราฟีน ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มการหดตัวในการทำเทียนหล่อ ทำให้เทียนหลุดจาก พิมพ์ง่าย เทียนจะเป็นเงา และมีสีสดใส

พี.อี. (Polyester Easterien) ใช้ 5% - 10% ของน้ำหนักพาราฟิน จะช่วยทำให้เทียนแข็งตัว และจุดติดไฟนานขึ้น ที่สำคัญ เมื่อจุดเทียน จะมี ควันน้อย

ขี้ผึ้ง (Beeswax) คือ แว๊กซ์ทำจากธรรมชาติมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้ผสมกับพาราฟิน ประมาณ 1% เพื่อเพิ่มระยะเวลาผาไหม้ของเทียน และช่วยทำให้สีของเทียนสดขึ้น

สี ช่วยทำให้เทียนมีสีสวยน่าใช้ การใช้แผ่นสีเทียนช่วยให้สะดวกในการ ผสมสีเข้ากับเทียน หากใส่สีมาก สีจะเข้มมาก

หัวน้ำหอม ช่วยทำให้เทียนมีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่นให้เลือกใช้ เช่น กลิ่นกุหลาบ ส้ม สตรอเบอร์รี มะลิ ลาเวนเดอร์ กำยาน ฯลฯ เลือกใช้ได้ตาม สีของเทียน หรือโอกาส

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ "เทียนหอมแฟนซี" ของสำนัก พิมพ์แม่บ้าน)

การตกแต่งเทียนเพิ่มเติม

1. หั่นแผ่นสีเทียนเป็นชิ้นสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วโรยในพิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงพิมพ์ ควรใช้ชิ้นสีหลาย ๆ สี และเลือกสีที่เข้มกว่าสีเทียนที่จะเท เพื่อให้สีต่าง ๆ สามารถมองทะลุเทียน ออกมาได้

2. ตกแต่งพื้นผิวด้านนอกของเทียนด้วยเทียนแฟนซีที่เป็นรูปดอกไม้ หรือรูปทรงอื่น ให้ตกแต่งทีละด้าน จุ่มเทียนแฟนซีในน้ำเทียนบาง ๆ แล้วนำไปติดข้างในพิมพ์ด้านที่ต้องการตกแต่ง จากนั้นจึงเทเทียน ที่ผสมแล้วลงไป หรือวางชิ้นเทียนแฟนซีลงบนพิมพ์ด้านใน จากนั้นนาบด้วยมีด หรือโลหะที่ร้อนที่ด้านนอกของพิมพ์ เพียง 1 นาที ชิ้นเทียนแฟนซีก็จะติดที่พิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงไป

3. การทำเทียน 2 สี ให้เทเทียนสี ที่ 1 ลงไปในพิมพ์ ปล่อยให้เทียนเกือบแข็งตัว( สังเกตุดูเนื้อเทียนจะเป็นสีขุ่นมาก )แล้วเทเทียนสี ที่ 2 ลงไป อาจทำสลับกันเป็นชั้นๆ แต่ต้องทิ้งให้แต่ละชั้นเย็นตัวเสียก่อน แต่ไม่แข็ง

หมายเหตุ การทำเทียนสูตรอื่น ๆ อาจจะไม่มีการผสมแว็กซ์ (ไมโครแว็กซ์) ลงไป การผสมแว็กซ์จะช่วยทำให้เนื้อเทียนสวย เพิ่มระยะเวลา เผาไหม้ของเทียนให้นานขึ้น

ราคาวัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ทำเทียน

เทียนก้อน ๆ ละ 44.00 บาท

ไมโครแว็กซ์ ก้อน ละ 64.00 บาท

สเตียริน ถุง ละ 16.00 บาท

พี.อี ถุง ละ 16.00 บาท

ขึ้ผึ้งก้อน ๆ ละ 54.00 บาท

หัวน้ำหอม ขวด ละ 45.00 บาท
เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)

หมายถึง การระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ หรือวันคืนพระชนม์ เข้าใจว่าอีสเตอร์มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ คือคำว่า Eastre ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาของฤดูใบไม้ผลิ ผู้รู้บางท่าน กล่าวว่าอาจมาจากภาษาเยอรมันโบราณ คือ คำว่า Eostarun ซึ่งแปลว่ารุ่งอรุณ


ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเอาชื่อเทพธิดาฤดูใบไม้ผลิต Eastre หรือคำว่ารุ่งอรุณ Eostarun ของภาษาเยอรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษว่า Easter เพื่อใช้เรียกวันคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์

นักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อคิดว่า การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับฤดูใบไม้ผลิตอย่างน้อย 2 ประการ

ประการ แรก วันอีสเตอร์อยู่ในช่วงเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิต คือระหว่างเดือนมีนา และเมษายน

ประการที่สอง ฤดูใบไม้ผลิตเป็นสัญญาลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะระหว่างฤดูหนาวที่หิมะตก หรืออากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีใบ มีลักษณะเหมือนตายไปแล้ว แต่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาถึง ต้นไม้ที่ดูเหมือนตายไปแล้วก็ผลิใบ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ใช้คำว่า Easter สำหรับวันฟื้นคืนพระชนม์

สัญญาลักษณ์ของวันอีสเตอร์ มักได้แก่ สิ่งที่สื่อความหมายถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่นความสดใส ภาพที่ปรากฎบนการ์ดอวยพรในเทศกาลนี้ จึงเป็นภาพ

สวนดอกไม้ - ซึ่งสื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง

ผีเสื้อ - สื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือหุ้ม และโบยบินขึนสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

กระต่าย - สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์

ไข่ - สื่อความหมายถึงความมีชีวิต

คำอวยพรในการ์ดสำหรับเทศกาลอีสเตอร์ สำหรับคริสตชน จะอวยพรกันในประโยคที่ว่า "ขอให้พระพรแห่งการฟื้นคืนพระชนม์เป็นของคุณ"

ของที่ระลึกสำหรับเทศกาลนี้ นิยมมอบช็อกโคเล็ดรูปไข่ หรือ ตุ๊กตาช็อคโกเล็ครูปกระต่าย ,ไข่ต้มย้อมสี หรือวัสดุรูปไข่ที่ประดิษฐ์ด้วยงานศิลป

สำหรับในปี 2005 นี้เทศกาลอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 25-26-27 มีนาคม คริสตจักรต่าง ๆ จะเริ่มต้นเทศกาลนี้ด้วยการนมัสการพระเจ้าในค่ำคืนวันที่ 25 มีนาคม เพื่อระลึกถึงวันที่พระเยซูคริสต์ทรงสละชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อความผิดบาปของเรา ซึ่งเราเรียกวันนี้ว่า วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday

ส่วนที่วันที่ 27 มีนาคม บางคริสตจักรมีการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์หรือวันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ด้วยการนมัสการพระเจ้าตั้งแต่เวลา 06.00 น. บางคริสตจักรก็จัดเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในช่วงเวลานมัสการปกติ

ประเพณีซ่อนไข่ จัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน โดยนำไข่ที่จัดเตรียมไว้ซึ่งมักจะเป็นไข่ต้มที่ย้อมสีต่างๆ อย่างสวยงาม อาจจะวาดเป็นลวดลาย หรือประดิษฐ์เป็นงานศิลปแบบต่าง ๆ นำไปซ่อนไว้ตามบริเวณต่างๆ ของคริสตจักร และให้สมาชิกของคริสตจักรหาไข่เหล่านั้น บางคริสตจักรอาจจะมีรางวัลสำหรับผู้ที่หาไข่ได้มากอีกด้วย



แม่ชีเทเรซา

แม่ชีเทเรซา



     แม่ชีเทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นแม่ชีในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม สำนักวาติกัน โดย สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็น "นักบุญราศี" ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของการเป็นนักบุญ ผ่านพิธีบุญราศีในนามว่า "นักบุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา"




ภาพแม่ชีเทเรซา ถ่ายเมื่อปี 2533

ประวัติ

วัยเยาว์

     เเม่ชีเทเรซา เป็นธิดาของนายนิโคล บอญักซุย (NiKolle Bojaxhui) กับนาง ดรานา เบอร์ไน (Drana Bernai) จากเชื้อสายชาวอิตาเลียน เป็นครอบครัวชนชั้นกลาง คุณแม่เทเรซาเกิดวันที่ 26 สิงหาคม 1910 ได้รับพิธีรับศีลล้างบาป (Baptized) ณ วัดดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า ที่เมือง สคอปเจ (Skopje) เมืองหลวงของสาธารณรัฐอัลบาเนียนแห่งมาเซโดเนีย ในวันที่ 27 สิงหาคม 1910 และได้รับนามว่า กอนซา (Gonxha) หรือ อักแนส (Agnes) อักแนสเป็นลูกคนที่สามและคนสุดท้อง มีพี่สาวคนโตชื่ออาก้า (Aga) พี่ชายชื่อ ลาซาร์ (Lazar)

     เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด เเละขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี

     ความสนใจของอักแนสในดินแดนธรรมทูต ได้รับการยืนยันจากเสียงเรียกชัดเจนให้เข้าสู่ชีวิตนักบวช ในขณะที่เธอกำลังสวดภาวนาอยู่หน้าพระแท่นรูปพระแม่มารีย์องค์อุปถัมภ์แห่งสคอปเจ (Patroness of Skopje) "พระแม่สวดภาวนาเพื่อดิฉัน และช่วยดิฉันให้ค้นพบ พระกระแสเรียกของตนเอง" ด้วยคำแนะนำและความช่วยเหลือของพระสงฆ์คณะเยสุอิต ชาวยูโกสลาเวียผู้หนึ่ง เธอจึงได้ขอสมัครเข้าคณะซิสเตอร์แม่พระแห่งลอเร็ตโต (ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าซิสเตอร์ไอริช) เธอถูกดึงดูดจากการทำงานธรรมทูตของซิสเตอร์เหล่านี้ในประเทศอินเดีย

     พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผนแผ่คำสอนในเมืองทาร์จีลิง รัฐสิขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองทาร์จีลิง

     พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา(ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)

     หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี

     หลังจากเป็นนวกเณรีได้ 2 ปี อักแนสก็ปฏิญาณตัวครั้งแรก (First vows) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1931 เป็นซิสเตอร์ในคณะซิสเตอร์พระแม่แห่งลอเร็ตโต และเปลี่ยนชื่อจาก อักแนส เป็น เทเรซาแห่งลิซิเออ

ภารกิจการกุศล

     คุณแม่เทเรซาออกจากกัลกัตตา เพื่อไปรับการอบรมหลักสูตรเร่งรัดเรื่องการพยาบาลพื้นฐานเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติสิ่งที่เธอปรารถนาคือ อุทิศตนรับใช้คน ยากจนที่สุดในบรรดาคนยากจนทั้งหลาย ตามชุมชนแออัดในเมืองกัลกัตตา ในปีนั้นเองที่เธอยื่นขอและได้รับสิทธิเป็นพลเมืองอินเดีย ซึ่งเธอจะคงไว้จนตลอดชีวิตของเธอ พระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 (Pope Paolo VI) ทรงมอบสิทธิเป็นพลเมืองวาติกันให้คุณแม่เทเรซาด้วยในช่วงปลายปี ค.ศ.1970 เพื่อช่วยให้การเดินทางทำงานธรรมทูตของคุณแม่สะดวกขึ้น
     วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ

     ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน

     วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)

     วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ

     พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]

     พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้

     พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน

     ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองไดhไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ

     พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน

      คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่นพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน

บั้นปลายชีวิต

     พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง

     การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้

     คุณแม่เทเรซาป่วยเป็นโรคหัวใจ และต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 2 ครั้ง มิใช่เป็นครั้งแรกที่คุณแม่เทเรซาตรากตรำทำงานหนักจนถึงขั้นหมดเรี่ยวแรง และต้องถูกส่งโรงพยาบาล แม้สมเด็จพระสันตะปาปา ก็ยังทรงขอร้องคุณแม่ให้ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเธอเองบ้าง แพทย์คอยตรวจสอบเธอเป็นระยะ ๆ แล้วยังสั่งให้คุณแม่พักรักษาตัวเป็นเวลา 6 เดือนในวันที่ 16 เมษายน 1990 คุณแม่เทเรซาลาออกจากตำแหน่งคุณแม่มหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม เนื่องจากสุขภาพไม่ดี เมื่อผ่อนคลายจากภาระรับผิดชอบต่าง ๆ แล้ว คุณแม่เทเรซาก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมบ้านซิสเตอร์ของคณะในที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น

     เดือนกันยายน 1990 คุณแม่เทเรซาได้รับการเรียกร้องให้พักจากการเกษียณและได้รับเลือกเป็นมหาธิการิณีของคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมอีกครั้ง เนื่องจากบรรดาซิสเตอร์ทราบเป็นอย่างดีถึงอัจฉริยภาพความเป็นผู้นำฝ่ายจิตของคุณแม่เทเรซาในคณะซิสเตอร์ ธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม จึงได้เลือกคุณแม่เป็นผู้นำอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าคุณแม่จะมีอายุ 80 ปีและสุขภาพไม่สู้ดีนักก็ตามในปี 1997 คุณแม่เทเรซา ได้ลาออกจากผู้นำคณะ เนื่องจากเจ็บป่วยมาก ในวันที่ 13 มีนาคม ซิสเตอร์นิรุมารา ได้รับเลือกเป็นผู้นำคณะคนใหม่

     วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" [6] ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย

     ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็น นักบุญราศี